ผู้ป่วยมักจะมีภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น หอบหืด แพ้อากาศ แพ้อาหาร สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์เข้าไปเกี่ยวข้องโดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น
สาเหตุที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ อากาศเปลี่ยน ถูกสารระคายผิว มีอาการติดเชื้อของร่างกาย ความชุกของโรคนี้ในเด็กไทยอายุ 6-7 ปี ในกรุงเทพพบได้ร้อยละ 16.7 ส่วนในเด็กอายุ 13-14 ปี พบร้อยละ 9.6 โรคนี้จะมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ที่สำคัญคือ คัน ผื่นแดง แห้งเป็นขุย มักไม่มีตุ่มน้ำ ติดเชื้อได้ง่ายกลายเป็นตุ่มหนอง อาจมีน้ำเหลืองไหล ส่วนใหญ่เป็นบริเวณหน้า แก้ม คอ ข้อพับ ผื่นของเด็กมักเกิดที่ศีรษะและใบหน้า ส่วนในผู้ใหญ่เกิดที่ข้อศอก ข้อเข่า คอ มือ และเท้า
ลักษณะสำคัญที่พบบ่อย
- อาการคันที่ผิวหนัง
- อาการคันผื่นเป็นๆ หายๆ
- ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคภูมิแพ้
- มีการกระจายของผื่นเข้าได้กับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ลักษณะที่พบร่วมกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวแพ้
- ลักษณะทางตา ได้แก่ ต้อกระจก กระจกตาโป่ง ขอบตาดำ
- หน้าซีด
- ผิวแห้ง
- ผิวแดง
- กลากน้ำนม
- ตุ่มคันที่ผิวหนัง
- ผิวหนังติดเชื้อได้ง่าย
- แพ้อาหาร
การตรวจเพื่อหาปัจจัยกระตุ้นที่อาจทำให้โรคกำเริบ
- ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เช่น Skin prick test หรือ Patch test
- ทดสอบการแพ้อาหารโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอาการรุนแรง
- ตรวจเลือดหาปฏิกิริยาความไวต่อสารก่อภูมิแพ้
การรักษาผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และตัวกระตุ้น
- ไม่ควรใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบ เช่น ผ้าขนสัตว์ หรือใยสังเคราะห์ควรใส่ผ้าฝ้าย
- หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด
- หลีกเลี่ยงการเกาหรือสัมผัสสารระคายเคือง
- ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป น้ำไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- หลังอาบน้ำให้ซับตัวหมาดๆ แล้วทาสารเพิ่มความชุ่มชื้นภายใน 3 นาที จะช่วยลดการใช้ยาทาสเตียรอยด์ได้ โดยทาบ่อยๆ
- กรณีมีผื่นคัน ให้ทายาที่ผื่นก่อนทาสารเพิ่มความชุ่มชื้น
การดำเนินของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
อาการเริ่มแรกจะเป็นในวัยทารกร้อยละ 85 และร้อยละ 17 พบในช่วง 5 ขวบปีแรก มีผื่นกำเริบเป็นช่วงๆ จนอายุถึง 7 ปี และอีกร้อยละ 20 ยังคงมีอาการเรื้อรังต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 16.8 ที่เริ่มมีผื่นภูมิแพ้ในช่วงผู้ใหญ่
การวางแผนการรักษาการป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ และอยู่ในช่วงสงบนานที่สุดเท่าที่จะทำได้จนกว่าโรคจะหายไป รวมถึงการติดตามการรักษาร่วมกับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาให้ดียิ่งขึ้น